1.ระบบปฏิบัติการ หมายถึง...
ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน
2.ตัวอย่างระบบการอื่นๆ
2.1 ลีนุกซ์คืออะไร
ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking) มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ (มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ที่ใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารในอินเทอร์เนตมาให้ในตัว ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible) กับ มาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟสที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมีและมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V โดยความหมายทางเทคนิคแล้วลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซสงาน การจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นและระบบอินเทอร์เฟสที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์) ถ้าคุณรันลีนุกซ์บนเครื่อง 386 หรือ 486 ของคุณ มันจะเปลี่ยนพีซีของคุณให้กลายเป็นยูนิกซ์เวอร์กสเตชันที่มีความสามารถสูง เคยมีผู้เทียบประสิทธิภาพระหว่างลีนุกซ์บนเครื่องเพนเทียม และเครื่องเวอร์กสเตชันของซันในระดับกลาง และได้ผลออกมาว่าให้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน และนอกจากแพลตฟอร์มอินเทลแล้ว ปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS เมื่อคุณสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาบนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถย้ายแอพพลิเคชันของคุณไปวิ่งบนแพลตฟอร์มอื่นได้ไม่ยาก ลีนุกซ์มีทีมพัฒนาโปรแกรมที่ต่อเนื่อง ไม่จำกัดจำนวนของอาสาสมัครผู้ร่วมงาน และส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เนต เพราะที่อยู่อาศัยจริงๆของแต่ละคนอาจจะอยู่ไกลคนละซีกโลกก็ได้ และมีแผนงานการพัฒนาในระยะยาว ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอนาคต และจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ตราบนานเท่านาน
2.2 Windows Vista
การพัฒนา
Windows Vista ได้เริ่มพัฒนาครั้งแรกภายใต้ชื่อรหัส ลองฮอร์น (Longhorn) ในปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 และในภายหลังก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อมาใช้เป็น Windows Vista ในเวลาถัดมา
ความสามารถใหม่
New user interface
Windows Vista นั้นมาพร้อมกับรูปร่างหน้าตาแบบใหม่หมด เพื่อที่จะได้ รับประโยชน์จากกราฟิก 3 มิติแบบฮาร์ดแวร์ หน้าต่างของโปรแกรมนั้นจะ ถูกเปลี่ยนใหม่เป็นแบบแก้วใส (Glass) ให้ความรู้สึกที่มีมิติและความลึก เข้าไปเมื่อคุณเปิดหลายๆวินโดว์พร้อมกันบนหน้าจอ หน้าตาของ Vista นี้ มีชื่อว่า Aero Glass ไม่เพียงแค่มันใสๆได้ ยังมีลูกเล่นที่เรียกว่า Windows Preview ยังปรับปรุงและเพิ่มฟังก์ชั่นต่างๆเข้าไปอีกมากมาย เมื่อเรานำเมาส์ไปชี้ที่ทาสก์บาร์จะปรากฎหน้าต่าง เล็กๆสำหรับดูรายละเอียดของโปรแกรมนั้นๆ และเมื่อคุณกดปุ่ม Windows+Tab หรือ ALT+Tab เพื่อเปลี่ยนโปรแกรมคุณก็จะเห็น Flip3D ที่คุณสามารถเลือกโปรแกรมได้ มันดูน่าสนุกและใช้ประโยชน์ได้
New Windows Explorer
Windows Explorer นั้นได้รับการอัพเดตเช่นกัน Address Bar ได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น คุณสามารถ ปรับแต่งได้ง่ายขึ้นอีกด้วย Live Preview ทำให้คุณสามารถเห็นรายการต่างๆภายในโฟล์เดอร์ได้ อินเทอร์เฟสนี้แตกต่าง จาก XP มากทีเดียว แต่มันก็มีข้อดีตรงที่ใช้งานง่าย และสะดวกขึ้นอีกมากมายทีเดียว Improved Start Menu
Start Menu ก็ได้รับการปรับปรุงใหม่เหมือนกัน เพราะจาก XP ผู้ใช้พบความไม่สะดวกหลายๆอย่าง จากการปรับปรุงนี้ คุณจะรู้สึกว่ามันใช้งานง่ายขึ้น สะดวกมากขึ้น และเหมาะกับชื่อของมันมากขึ้นกว่าใน XP จากความคิดเห็นของผม Start Menu ของ Vista นั้นดีกว่าเดิมมากทีเดียว
Instant Search
เป็นฟังก์ชั่นแรกๆที่เราได้ยินมาใน Vista เป็นฟังก์ชั่นที่ได้รับความนิยมใน Mac OS X ของ Apple มากทีเดียว คุณสามารถ ที่จะค้นหาไฟล์อะไรก็ได้จากที่ไหนก็ได้ไม่ว่าจะเป็น Windows Explorer, Start Menu, Help and Support และที่อื่นๆ นอกจากนี้คุณยังสามารถที่จะสร้าง Virtual Folder หรือที่เรียกว่า Save Search ทำงานคล้ายกับโฟลเดอร์จริง และอัพเดตแบบอัตโนมัติ มันทำงานได้ดีกว่า และมีประสิทธิภาพกว่า Search ใน XP มาก
Performance improvements
คุณอาจจะคิดว่าการเพิ่มฟีเจอร์เข้าไปทำให้ระบบช้าลง แต่ไมโครซอฟท์ได้เปลี่ยนแปลง และจัดการในส่วนนี้เป็นอย่างดี ซึ่งก็รวมถึง SuperFetch ด้วยการพรีโหลดแอพลิเคชั่นที่ใช้บ่อยๆเข้าสู่แรม ทำให้มีการสตาร์ทอัพเร็วขึ้น และ ReadyBoost ด้วยการสามารถใช้แฟลชเมโมรี่แบบภายนอกแบบ USB เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ
3.ระบบปฏิบัติการจัดการบริหารจัดการเครือข่าย
1.Netware เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ พัฒนาโดยบริษัท Novell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS
2. Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็นดาต้าเบส เซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์
3. Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่กำเนิดมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) ที่รองรับผู้ใช้จำนวนมากสำหรับระบบเครือข่ายในหน่วยงานใหญ่ๆ เป็นโปรแกรมจัดการระบบงาน (Operating system) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ได้รับการออกแบบโดยห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T ในปี คศ. 1969 ถึงแม้ว่าระบบ Unix จะคิดค้นมานานแล้ว แต่ยังเป็นที่นิยมใช้กันมากมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะระบบ พื้นฐานของอินเตอร์เนต เนื่องจากมีความคล่องตัวสูง ตลอดจนสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิด นอกจากนั้น Unix ยังเป็นระบบ ใช้ในลักษณะผู้ใช้ร่วมกันหลายคน (Mutiuser) และงานหลายงานในขณะเดียวกัน (Mutitasking) ผู้ใช้สามารถดัดแปลง หรือเพิ่มคำสั่งใน Unix ด้วยตนเองเพื่อความสะดวกได้
4.ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยคนไทย
ลีนุกซ์ ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking) มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ (มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ที่ใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารในอินเทอร์เนตมาให้ในตัว ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible) กับ มาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟสที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมีและมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V โดยความหมายทางเทคนิคแล้วลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซสงาน การจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นและระบบอินเทอร์เฟสที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์) ถ้าคุณรันลีนุกซ์บนเครื่อง 386 หรือ 486 ของคุณ มันจะเปลี่ยนพีซีของคุณให้กลายเป็นยูนิกซ์เวอร์กสเตชันที่มีความสามารถสูง เคยมีผู้เทียบประสิทธิภาพระหว่างลีนุกซ์บนเครื่องเพนเทียม และเครื่องเวอร์กสเตชันของซันในระดับกลาง และได้ผลออกมาว่าให้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน และนอกจากแพลตฟอร์มอินเทลแล้ว ปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS เมื่อคุณสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาบนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถย้ายแอพพลิเคชันของคุณไปวิ่งบนแพลตฟอร์มอื่นได้ไม่ยาก ลีนุกซ์มีทีมพัฒนาโปรแกรมที่ต่อเนื่อง ไม่จำกัดจำนวนของอาสาสมัครผู้ร่วมงาน และส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เนต เพราะที่อยู่อาศัยจริงๆของแต่ละคนอาจจะอยู่ไกลคนละซีกโลกก็ได้ และมีแผนงานการพัฒนาในระยะยาว ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอนาคต และจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ตราบนานเท่านาน
5.ข้อสอบเกี่ยวกับ ระบบปฏิบัติการ
1.ระบบปฏิบัติการหมายถึงอะไร
ตอบ ระบบปฏิบัติการ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
2.Netware คืออะไร
ตอบ Netware เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ
พัฒนาโดยบริษัท Novell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS
3.ระบบปฏิบัติการที่ใช้ฟรีคือระบบปฏิบัติการอะไร
ตอบ ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบ
หลากงาน หลายผู้ใช้
4.หน้าที่ของระบบปฏิบัติการคืออะไร
ตอบ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่อง
การรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ
5.Windows Vista ได้เริ่มพัฒนาครั้งแรกภายใต้ชื่อรหัสอะไร
ตอบ ได้เริ่มพัฒนาครั้งแรกภายใต้ชื่อรหัส ลองฮอร์น (Longhorn) ในปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 และในภายหลัง
ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อมาใช้เป็น Windows Vista ในเวลาถัดมา
วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)